วัดโพธิ์-เยาวราช
1200฿ per person
สนุกกับการท่องเที่ยว One Day Trip ย่านเยาวราช อาหารอร่อย เรียนรู้ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันของชุมชนเยาวราช และ รถไฟฟ้าใต้ดินสายใหม่ ไปถึงวัดโพธิ์ นำท่านกราบพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ พร้อมชม พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ที่ประดับกระเบื้องเคลือบอย่างงดงาม กับอีกหนึ่งตำนานยักษ์วัดโพธิ์ ที่ไม่ควรพลาด.
-
Departure Time
เวลานัดหมาย 8:30 น. พร้อมออกเดินทางเวลา 09:00 น. -
Return Time
เวลาเดินทางกลับโดยประมาณ 18:00 น. -
Dress Code
เสื้อผ้าที่ควรสวมใส่ ควรแต่งกายสุภาพ หรือ มีเสื้อผ้าสำหรับสวมคลุม , รองเท้าผ้าใบเหมาะสำหรับการเดิน , อุปกรณ์กันแดด -
Included
ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ ที่ระบุในรายการค่าประกันการเดินทาง ตามเงื่อนไขค่าประกันอุบัติเหตุการเดินทาง วงเงินตามเงื่อนไขค่ารถโค้ชปรับอากาศ ตามรายการค่าห้องพัก ที่ระบุในรายการหรือเทียบเท่าค่าหัวหน้าทัวร์ตลอดการเดินทาง (Tip ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของลูกค้า)ค่าอาหาร ตามรายการ -
Not Included
ค่าน้ำหนักกระเป๋าเกินกว่าสายการบินกำหนดค่าใช้จ่ายส่วนตัวน้ำดื่มบล็อกห้องอาบน้ำเสื่อเอกสารประกอบการเรียนโยคะ
1
One Day Trip : วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร-ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช-ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ-ศาลเจ้าเทียนฟ้า-พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย-วัดมังกรกมลาวาส-วัดโพธิ์
วัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพ ไทย-จีน แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์
เป็นวัดโบราณอยู่ในกลุ่มพระอารามเป็นเรือนไม้ มีชื่อเดิมว่า "วัดสามจีน" เข้าใจกันว่า ชาวจีน 3 คนร่วมกันสร้างพระอารามเพื่อเป็นวิหารทานการบุญในปี พ.ศ. 2477
สิ่งสำคัญของวัด คือ พระสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุด และได้รับการบันทึกในหนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ พระพุทธรูปทองคำองค์นี้มีหน้าตั้งกว้าง 3.01 เมตร สูง 3.91 เมตร นิ้วเป็นนิ้วมนุษย์ผิดกับนิ้วพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หมวดพระ
ชินราช ซึ่งมีนิ้ว พระหัตถ์เสมอกันทั้ง 5 นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดพระเกตุมาลา 3.94 เมตร องค์พระสามารถถอดออกได้เป็น 9 ชิ้น คือ
พระพาหาทั้งสอง พระหัตถ์ทั้ง สอง พระชงฆ์ทั้งสอง พระเพลาทั้งสอง และตรงพระศอ โดยมีกุญแจ สําหรับถอดและประกอบกันเข้าแล้วก็สนิทเหมือนเป็นเนื้อเดียวกันจากฐานองค์พระขึ้นไปเนื้อทองบริสุทธิ์ 40% พระพักตร์มีเนื้อทอง 80% ส่วนพระเกศมีน้ำหนัก
45 กิโลกรัม เป็นเนื้อทองบริสุทธิ์ 99.99%
2
ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช แห่งนี้ ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของ พระมหามณฑป วัดไตรมิตรวิทยาราม ซึ่งแสดงถึงการโยกย้ายถิ่นฐานของชนชาวจีนมาสู่ประเทศไทย จากครั้งอดีตจวบจนปัจจุบัน โดยห้องแสดงนิทรรศการต่างๆ จะมีทั้งหมด 6 ห้อง ซึ่งแบ่งออกตามช่วงเวลาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ คือ
- เติบใหญ่ใต้ร่มพระบารมี ฟังคำบอกเล่าจากอากงชาวเยาวราช เพื่อทำความรู้จักเบื้องต้นกับชุมชนชาวจีนสำเพ็ง และเยาวราช
- กำเนิดชุมชนจีนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 - 2394) จุดกำเนิดของชุมชนจีน-สำเพ็ง และการเข้ามาของชาวจีนโพ้นทะเลในช่วงสมัยรัชกาล ที่ 1-3 จนกระทั่งกลายเป็นย่านการค้าที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ
- เส้นทางสู่ยุคทอง (พ.ศ. 2394 - 2500) พัฒนาการของชุมชนจีนจากตลาดสำเพ็งสู่ความเป็นย่านธุรกิจสมัยใหม่บนถนน เยาวราชเรื่องราววิถีชีวิตที่ช่วยให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อวิถีทาง สังคมของชาวเยาวราชในยุคนั้น
- ตำนานชีวิต Hall of Fame ประกอบวีดิทัศน์แสดงตำนานชีวิต ของบุคคลชาวเยาวราชที่เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้แก่อนุชนรุ่นหลัง
- พระบารมีปกเกล้าฯ แกลเลอรี่ภาพถ่ายและวีดิทัศน์ แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ พระบรมวงศานุวงศ์ ใน รัชกาลปัจจุบันต่อชุมชนเยาวราช
- ไชน่าทาวน์วันนี้ ภาพลักษณ์อันโดดเด่นในแง่มุมของเยาวราช ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชน่าทาวน์" ของประเทศไทย
3
ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ หรือ วงเวียนโอเดียน เป็นวงเวียนตั้งอยู่บริเวณหัวถนนเยาวราช เป็นจุดตัดของถนนเจริญกรุง, ถนนเยาวราช และถนนมิตรภาพไทย-จีน อยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นวงเวียนที่มีประวัติความเป็นมาคู่กับถนนเยาวราช เคยเป็นศูนย์รวมสถานบันเทิง เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ปัจจุบันปรับปรุงเป็นที่ตั้งของ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา
ร้านค้าในย่านนี้ เรียกว่า ร้านค้าย่านโอเดียน เป็นย่านเก่าแก่เป็นที่มาของชื่อ เซียงกง แหล่งเครื่องยนต์มือสอง และอะไหล่มือสองจากญี่ปุ่นยุคแรก ปัจจุบัน ยังมีร้านค้าเหล่านี้อยู่บ้าง เช่น ร้านค้าอะไหล่รถยนต์ อะไหล่แทรกเตอร์
ร้านค้าโลหะ และร้านค้าเครื่องเรือ
4
โรงพยาบาลมูลนิธิ เทียนฟ้า เป็นโรงพยาบาลและมูลนิธิตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราช โดยมีศาลเจ้าเทียนฟ้า ตั้งอยู่ด้านหน้ามูลนิธิ
ประวัติ ความเป็นมา มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2445 ชาวจีนย่านเยาวราช เรียกว่า เทียนฮั้วอุยอี่ เกิดจากพ่อค้าชาวจีน 6 คน คือ นายโง้วเหมียวง้วน (จีนล่ำซำ), นายเล่ากี่ปึ้ง (พระยาภักดีภัทรากร), นายกอฮุยเจี๊ยะ, นายเหล่าชอเมี้ยง (พระเจริญราชธน), นายเฮ้งเฮ่งจิว และนายเตียเกี้ยงซำ (หลวงโสภณเพชรรัตน์) ได้ร่วมใจกันอุทิศเงินจำนวนหนึ่งและได้ชวนพ่อค้าชาวจีน ประชาชนทั่วไปร่วมกันสมทบทุน เพื่อจัดซื้อที่ดินจำนวน 2 ไร่ 2 งาน 49 ตารางวาบริเวณ เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเยาวราช เป็นเงิน 52,000 บาท เพื่อให้เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลและมูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้าในปัจจุบัน
มูลนิธิแห่งนี้มีศาลรูปเคารพของ เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปางประทานพร ประดิษฐานเป็นเทพเจ้าองค์ประธาน
ผู้คนนิยมมาขอพรให้ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพแข็งแรง องค์ทำด้วยไม้จันทน์แกะสลัก รูปแบบศิลปะราชวงศ์ถัง แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยของราชวงศ์ซ่ง หรือเมื่อประมาณ 800-900 ปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2501 ได้ถูกอัญเชิญมาจากประเทศจีนและมาประดิษฐานอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน
5
ร้านลอดช่องสิงคโปร์ ร้านแรกของเมืองไทย ที่ขายมากว่า 60 ปี เดิมทีชื่อว่าร้านสิงคโปร์โภชนา เพราะในอดีตมีโรงหนังสิงคโปร์หรือโรงหนังเฉลิมบุรี อยู่บนถนนเส้นนี้ แต่ต่อมาหลายคนมักเรียกสั้นๆ ว่า ร้านลอดช่องสิงคโปร์ จึงเปลี่ยนชื่อให้จำง่ายๆ ว่าร้านลอดช่องสิงคโปร์แทน ความอร่อยของร้านนี้คือแป้งหนึบๆ น้ำกะทิหอมหวาน เวลาทานตอนอากาศร้อนๆ จะชื่นใจมากๆ
ร้านบะหมี่จับกัง เปิดขายมากว่า 60 ปี ขายมา 3 รุ่นตั้งแต่รุ่นอากง
เจ้าของร้านชื่อเฮียสุวิทย์ เป็นรุ่นที่2 บะหมี่จับกังนั้นถือ เป็นตำนานในย่านเยาวราชก็ว่าได้ ทีเด็ดของร้านนี้อยู่ที่ความอร่อย และการทำด้วยเตาถ่าน ที่สำคัญ คือปริมาณเยอะมาก เจ้าของร้านเล่าว่าชื่อร้านบะหมี่จับกังนั้นจริงๆ แล้วเกิดจากที่ลูกค้านั้นเป็นคนตั้งให้ เนื่องจากว่าทางร้านเสิร์ฟบะหมี่เกี๊ยวหมูแดงให้ลูกค้าทุกคนในปริมาณที่ต้องบอกว่า "จับกังกินยังอิ่ม" เพราะทั้งเส้นทั้งเนื้อหมูนั้นเรียกได้ว่าอร่อยและยังคุ้มค่าเป็นอย่างมาก

6

7



8


9

10

11

Emily
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut varius consectetur turpis quis ultrices. Duis pretium sapien sem, eu commodo sem suscipit ut. Duis egestas bibendum lorem. Nulla ac ipsum erat. Praesent sed fringilla metus.
Lily
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut varius consectetur turpis quis ultrices. Duis pretium sapien sem, eu commodo sem suscipit ut. Duis egestas bibendum lorem. Nulla ac ipsum erat. Praesent sed fringilla metus.